วัดท่าฬ่อสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ชื่อ “ท่าฬ่อ” เป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งของวัดซึ่งเชื่อกันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ท่าล้อ" เพราะบริเวณนี้ในสมัยก่อนเป็นที่รวมตัวของเหล่าล้อเลื่อนสำหรับลากไม้และล้อเกวียนต่างๆ ที่ใช้ในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร สำหรับวิหารหลังเก่าหรือที่เรียกกันว่าวิหารหลวงตากลิมซึ่งเป็นที่ตั้งของจิตรกรรมนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ปางนิพพานหรือที่มักเรียกกันว่าปาง "พระเจ้าเข้านิพพาน" ซึ่งมีเพียง ๒ แห่งเท่านั้นในประเทศไทย คือที่นี่ซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุดกับที่วิหารแกลบ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ต่อมา เมื่อกรมศิลปากรมาบูรณะภาพในวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทางวัดได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปเก็บไว้ที่อุโบสถหลังเก่าหรือที่เรียกกันว่าวิหารหลวงพ่อพวง ในวิหารหลวงตากลิมจึงเหลือเพียงแค่ฐานและมักจะปิดตายเพราะตั้งอยู่ท้ายวัดและไม่มีพระพุทธรูปให้คนมากราบไหว้อีก ซึ่งน่าเสียดายมากเพราะจิตรกรรมในวิหารหลังนี้งดงามและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมรุ่นเดียวกัน
วัดท่าฬ่อ พิจิตร
สถานที่ในจังหวัด: พิจิตร
รีวิวสถานที่
หลวงพ้อหิรพระพุทธรูปที่มีแต่เศียร เป็นหินแกะสลักสวยงามมาก อยู่กับคบไม้ (ต้นไทร) บ้านชาละวัน ตำบลสนามคลี ชาวบ้านเล่าว่าเศียรพระพุทธรูปนี้ แต่เดิมมีคนนำมาจากแถว ๆ วัดมหาธาตุใกล้ถ้ำชาละวันเมืองเก่า ใครนำไปก็มีอันเป็นไป ต้องนำมาคืนไว้ที่ต้นไทรตามเดิม ท่านเจ้าคุณเมธีธรรมประนาท จึงได้ไปที่ต้นไทรนั้น เห็นเศียรพระโผล่ออกมาจากคบไม้เล็กน้อย (คบไม้หุ้มไว้) จึงได้จุดธูปสักการะและอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้าเป็นพระคู่บ้าน คู่เมืองของวัดท่าฬ่อจะขออัญเชิญไปอยู่วัดท่าฬ่อ ให้บังเกิดความเงียบสงัด ถ้าไม่ยินดีจะไปอยู่ ให้เกิดสิ่งอัศจรรย์ทันตาเห็น จากนั้นทุกอย่างเงียบสงัดเป็นเวลาประมาณ ๕ นาที เมื่อเป็นไปดังคำอธิษฐานจึงได้ใช้ขวานบากคบไม้ นำเอาเศียรพระพุทธรูปออกมาและนำไปไว้ที่วัดท่าฬ่อ เจ้าคุณเมธีธรรมประนาท ได้ติดต่อช่างจากสุโขทัย มาประกอบเป็นองค์พระได้สำเร็จงดงามและให้เรียกชื่อว่า พระพุทธศิลามหามุนีนาถ (หลวงพ่อหิน) เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป